Quantcast
Channel: theTripPacker
Viewing all articles
Browse latest Browse all 3101

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา และท้องฟ้าจำลอง :: ออกเดินทางสุดขอบจักรวาล ที่นี่...เรื่องเรียน เรื่องเที่ยว คือเรื่องเดียวกัน

$
0
0
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา และท้องฟ้าจำลอง :: ออกเดินทางสุดขอบจักรวาล ที่นี่...เรื่องเรียน เรื่องเที่ยว คือเรื่องเดียวกัน

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา และท้องฟ้าจำลอง :: ออกเดินทางสุดขอบจักรวาล ที่นี่...เรื่องเรียน เรื่องเที่ยว คือเรื่องเดียวกัน

ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ (ฺBangkok Planetarium) จ.

theTripPacker

ว่ากันว่า "ค่ำคืนไหนที่มืดมิดที่สุด ค่ำคืนนั้น..ดาวบนท้องฟ้าก็จะเปล่งประกายระยิบระยับสวยงามที่สุดเช่นกัน" แต่ในกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงที่ไม่เคยหลับใหล และไม่เคยมืดสนิทแห่งนี้ โอกาสที่เราจะได้เห็นความงดงามของดวงดาวบนท้องฟ้ายามค่ำคืนแบบเต็มตาเหมือนกันบนยอดดอยในต่างจังหวัดนั้นช่างมีแสนน้อยนิด แต่เดี๋ยวก่อนครับ อย่าเพิ่งน้อยอกน้อยใจไป...โอกาสมีน้อย แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสนั้นนะครับ เพราะทีเด็ดเมืองกรุงฯ ของเราในครั้งนี้ จะพาเพื่อน ๆ ทุกคนไปสัมผัสประสบการณ์ดาวล้านดวงใจกลางกรุงเทพมหานคร ที่ที่จะเปลี่ยนกลางวันอันร้อนระอุของเมืองกรุงฯ ให้เป็นค่ำคืนที่งดงามในห้วงอวกาศ และที่นี่ก็คือ ... "ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ"

2b935278-01b1-2fcf-b608-5b063b31c92d.png

สถานที่แห่งนี้คนส่วนใหญ่มักจะรู้จักกันในชื่อ ท้องฟ้าจำลอง แต่ที่จริงแล้วท้องฟ้าจำลอง เป็นเพียงโซนจัดแสดงหนึ่งที่อยู่ภายใน ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา  เท่านั้น ซึ่งที่นี่ยังมีอีกหลายโซนจัดแสดงที่น่าสนใจซึ่งวันนี้เราจะพาไปชมกันทีละโซนครับ โดยวิธีการเดินทางมาก็ไม่ยากเลย ใครสะดวกนำรถยนต์ส่วนตัวมาที่นี่ก็มีลานจอดรถให้บริการ ด้านหน้ามีป้ายรถเมล์ที่มีให้บริการอยู่หลายสาย หรือใครสะดวกรถไฟฟ้าก็สามารถนั่ง BTS มาลงที่สถานีเอกมัยได้เลย

เมื่อมาถึงแล้วก่อนอื่นเราก็ตรงมาที่ อาคาร 2 อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ เพราะด้านหน้าอาคารนี้จะเป็นจุดจำหน่ายบัตรเข้าชมนิทรรศการ และท้องฟ้าจำลอง โดยบัตรจะแยกเป็น 2 แบบ คือ

1. บัตรชมท้องฟ้าจำลอง (ผู้ใหญ่ 30 บาท / เด็ก 20 บาท / **รอบภาษาอังกฤษ ผู้ใหญ่ 50 บาท / เด็ก 30 บาท) โดยมีรอบการแสดงดังนี้ 

วันอังคาร - วันศุกร์  10:00 น. (ภาษาอังกฤษ) / 11:00 น. / 13:00 น. (ภาษาอังกฤษ) / 14:00 น. / 15:00 น. วันเสาร์ - วันอาทิตย์ 10:00 น. (ภาษาอังกฤษ) / 11:00 น. / 13:00 น. (ภาษาอังกฤษ) / 14:00 น. / 15:00 น. /  16:00 น.

2. บัตรชมนิทรรศการ 3 อาคาร ประกอบไปด้วย อาคาร 2 พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์, อาคาร 3 โลกใต้น้ำ และอาคาร 4 ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (ผู้ใหญ่ 30 บาท / เด็ก 20 บาท) สามารถเข้าชมได้ทั้งวัน ตั้งแต่ 09:00 - 16:30 น. หากใครมีเวลาว่าง 3-4 ชั่วโมงขึ้นไป ผมแนะนำให้ซื้อบัตรทั้ง 2 แบบไปเลยครับ รับรองว่าทั้งคุ้มค่า สนุก และเต็มอิ่มแน่นอน

16a6dfe0-d246-6bd6-e057-5b065c2dca29.png
e5560d51-5345-90e6-7614-5b065c28aa5d.png

วันนี้เราได้รอบชมท้องฟ้าจำลอง เป็นรอบ 14:00 น. มีเวลาเกือบ 2 ชั่วโมง ดังนั้นเราก็ขอเช้าไปชมนิทรรศการในอาคารต่าง ๆ กันก่อนดีกว่า โดยเราเริ่มต้นที่อาคาร 2 พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ เป็นอาคาร 4 ชั้น ที่เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ และภูมิศาสตร์ จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ในชั้นแรกเมื่อเข้ามาถึงแล้วเราจะได้สนุกไปเครื่องมือ และอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่เราสามารถลงมือทดลองทำ และพิสูจน์ได้ด้วยตัวเอง ใครอยากจะทดลองเป็นนักบินอวกาศ ก็ต้องไม่พลาดเครื่องจำลองสภาวะไร้แรงดึงดูด บอกเลยว่าใครชอบความหวาดเสียวเครื่องเล่นนี้จะสนุก ๆ มาก ๆ เลยครับ ขึ้นมาด้านบนจะเป็นเมืองไฟฟ้า และห้องปฎิบัติการหุ่นยนต์ ใครอยากรู้ว่าไฟฟ้าคืออะไร? มาจากไหน? และมาถึงเราได้อย่างไร? หาคำตอบได้ที่โซนนี้ และเพื่อน ๆ คนไหนที่ชอบหุ่นยนต์ หรืออยากจะลองเป็นนักประดิษฐ์หุ่นยนต์ ก็สามารถมาเรียนรู้เทคโนโลยีหุ่นยนต์กันได้ ด้านบนสุดจะเป็นนิทรรศการ กาล-อวกาศ ซึ่งเราจะได้ท่องไปในอวกาศกับยานอวกาศ เรียนรู้การกำเนิดจักรวาล รวมไปถึงค้นหาคำตอบเกี่ยวกับการเดินทางข้ามเวลาอีกด้วย

11f6e6f1-e5de-edcf-2842-5b0663839e39.png
2b5d61d0-82e8-e975-9f85-5b0663749dd9.png
df9b4fc6-8053-7196-c4ae-5b0663976b56.png
52bd3662-ef52-04d3-2be4-5b06644ed565.png
9a81180d-b214-9bb4-9f32-5b06648f7426.png
1a371ffc-9f85-9a15-8b1b-5b066423cda3.png
1b18294e-2b29-f1b4-3e8e-5b0664e80174.png
97201aa0-12ce-bc43-610a-5b0664f46a5c.png
d4e4d3fa-b874-e099-3cd4-5b0664d96a1a.png

สวมบทบาทเป็นนักวิทยาศาสตร์ และนักบินอวกาศเพลินจนเกือบลืมดูเวลา ตอนนี้ใกล้รอบชมท้องฟ้าจำลองแล้ว แนะนำว่าเราควรไปรอที่ทางเข้าก่อนเวลาแสดงประมาณ 15 นาที เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ตรวจบัตร และเข้าเลือกที่นั่งชม ซึ่งการแสดงท้องฟ้าจำลองจะแบ่งออกไป 2 ช่วงคือ ช่วงดูดาว (ประมาณ 25 นาที) และช่วงภาพยนตร์ โดยเรื่องที่เข้าฉายอยู่ช่วงนี้คือ เรื่อง New Horizon ขอบฟ้าใหม่ (ประมาณ 25 นาที) ซึ่งภาพยนตร์จะมีสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันแล้วแต่ช่วงครับ ภายในห้องฉายดาวเจ้าหน้าที่จะไม่อนุญาตให้เราถ่ายภาพ หรือบันทึกวีดีโอนะครับ ขอความร่วมมืองดใช้เสียง และแสงจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยนะครับ ภายในห้องเป็นลักษณะวงกลมขนาดใหญ่ รองรับได้ 280 ที่นั่ง มีโดมสูงเพื่อฉายดาวอยู่ตรงกลางด้านบนเหนือที่นั่ง ตรงกลางคือเครื่องฉายดาวในตำนาน อย่าง Carl Zeiss Mark IV ที่อายุการใช้งานยาวนานกว่า 55 ปีแล้ว แต่ปัจจุบันทางท้องฟ้าจำลองได้ปรับปรุงใหม่โดยใช้ระบบควบคุมโดยซอฟท์แวร์ Digistar 5 ที่มีความความชัดสูงสุดระดับ 4K ทำให้การดูดาวในท้องฟ้าจำลองตอนนี้เรียกได้ว่าคมชัด สมจริง และสวยงามอลังการมาก เพราะจากปกติที่เราจะสามารถมองดาวฤกษ์บนท้องฟ้าด้วยตาเปล่าได้เพียง 2,000 ดวงเท่านั้น แต่เจ้าเครื่องนี้ทำให้เราสามารถมองเห็นได้ชัดเจนถึง 9,000 ดวงกันเลยทีเดียว บอกได้เลยว่าเป็นเวลาเกือบหนึ่งชั่วโมงที่เหมือนเราหลุดไปอยู่ในห้วงอวกาศท่ามกลางหมู่ดาวนับหมื่นนับพันดวง

5227e324-baca-7690-7c32-5b066bebe949.png
669fb17e-cbbd-d2ae-b026-5b066bf81369.png
b0614032-9d0f-fd6e-7385-5b066bc74c24.png
66bd9720-af02-5d2a-ecda-5b066bad82d5.png
4fabda27-d646-00c5-bc6b-5b066b46b2d9.png
622102d9-7e95-7691-760d-5b066b22feb5.png

เราเดินย้อนกลับมาทางด้านหน้าอาคาร 2 ตรงจุดจำหน่ายบัตร ด้านตรงข้ามจะเป็นอาคาร 3 โลกใต้น้ำ ซึ่งจัดแสดง และให้ความรู้เกี่ยวกับสัตว์น้ำนานาชนิด ทั้งสัตว์น้ำทะเล และสัตว์น้ำจืด รวมถึงเปลือกหอยหลากหลายชนิดอีกด้วย

 

ee38d275-04f3-7e88-b802-5b066c18c1f9.png
abaf0d99-3ae7-9b1a-22fd-5b066c0ef169.png
ca82b775-c842-a0dd-e471-5b066c16ae33.png
7bc07144-c597-75c5-a24d-5b066c4afbaf.png

อาคารสุดท้ายที่เราจะไปเยี่ยมชมกันในวันนี้คือ อาคาร 4 อาคารธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเราต้องข้ามถนนไปอีกฝั่ง โดยระหว่างทางเราจะผ่านนิทรรศการพลังงานแสงอาทิตย์ด้วย ใครสนใจก็แวะชมก่อนได้นะครับ 

f417ada4-6cb6-ff94-34c9-5b066d3cefc1.png

อาคาร 4 อาคารธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มีทั้งหมด 8 ชั้น โดยชั้นที่ 2-8 จะเป็นโซนนิทรรศการ ประกอบไปด้วย

ชั้น 2 ไดโนเสาร์ ชั้น 3 ห้องปฎิบัติการจูแรสซิก ชั้น 4 ขุมทรัพย์โลกสีเขียว ชั้น 5 โลกของแมลง ชั้น 6 เมืองเด็ก ชั้น 7 ชีวิตพิศวง ชั้น 8 มรดกธรรมชาติ

แนะนำว่าให้ขึ้นลิฟต์ไปที่ชั้น 8 ก่อน แล้วเดินวนลงมาเรื่อย ๆ จนถึงด้านล่าง ตึกนี้ใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที ก็น่าจะครบทั้ง 7 โซน ซึ่งเราเดินจนเพลินรู้ตัวอีกทีทางเจ้าหน้าที่อาคารก็ประกาศว่าเหลือเวลาอีก 5 นาทีก็จะได้เวลาปิดทำการซะแล้ว

907b353e-16ec-a291-a1f3-5b06724883cb.png
77d7dcc1-e8d4-24fd-e05c-5b067247add3.png
e15c48ff-c523-4dd8-70ce-5b067205dca7.png
dd84287e-5c33-54ee-e308-5b067298b85d.png

เป็นอย่างไรบ้างครับกับสถานที่ที่เป็น ทีเด็ดเมืองกรุงฯ ของเราในครั้งนี้ ส่วนตัวผมคิดว่านอกจากที่นี่จะเป็นแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจเป็นอย่างมากแล้ว ที่ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลอง แห่งนี้ ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะกับคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกสถานะ เมื่อแลกกับค่าเข้าชมแล้วผมถือว่าเกินคุ้ม เพราะนอกจากจะได้ความรู้ และประสบการณ์ใหม่ ๆ แล้ว ที่นี่ยังเต็มไปด้วยความตื่นตาตื่นใจแบบที่หาจากที่ไหนไม่ได้ หากใครไม่รู้ว่าวันว่างจะไปไหนดี ที่เดินทางสะดวก ไม่ไกล ไม่แพง และยังเพลินสุด ๆ ผมแนะนำเลยครับ เพราะที่นี่.... เรื่องเรียน เรื่องเที่ยว คือเรื่องเดียวกัน


จุดเด่น

เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ และภูมิศาสตร์ จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งเราจะได้เรียนรู้ และได้ทดลองลงมือทำ อีกทั้งยังมีท้องฟ้าจำลองที่เป็นไฮไลท์ของที่นี่ ที่เราจะได้มีโอกาสชมความงดงามของดวงดาวนับหมื่นดวงอย่างใกล้ชิด

จุดด้อย

อุปกรณ์ และโซนจัดแสดงบางจุดอาจมีชำรุดทรุดโทรมไปบ้าง รวมถึงยังขาดในส่วนของร้านค้าสวัสดิการไว้บริการผู้เข้าชม

ข้อสรุป

นอกจากที่นี่จะเป็นแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจเป็นอย่างมากแล้ว ที่ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลอง แห่งนี้ ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะกับคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกสถานะ เมื่อแลกกับค่าเข้าชมแล้วผมถือว่าเกินคุ้ม เพราะนอกจากจะได้ความรู้ และประสบการณ์ใหม่ ๆ แล้ว ที่นี่ยังเต็มไปด้วยความตื่นตาตื่นใจแบบที่หาจากที่ไหนไม่ได้

คะแนน 4/5


ข้อมูลทั่วไป


ที่อยู่ :  ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา 928 ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

GPS : 13.719656, 100.583107

เบอร์ติดต่อ : 02 391 0544, 02 392 1773, 02 392 0508

website : www.sciplanet.org

Facebook : www.facebook.com/ScienceCenterForEducation

เวลาทำการ : วันอังคาร - วันอาทิตย์ เวลา 09:00 - 16:30 น.

ปิดบริการ : วันจันทร์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

ค่าเข้าชม : 

1. บัตรชมท้องฟ้าจำลอง (ผู้ใหญ่ 30 บาท / เด็ก 20 บาท / **รอบภาษาอังกฤษ ผู้ใหญ่ 50 บาท / เด็ก 30 บาท) โดยมีรอบการแสดงดังนี้ 

วันอังคาร - วันศุกร์  10:00 น. (ภาษาอังกฤษ) / 11:00 น. / 13:00 น. (ภาษาอังกฤษ) / 14:00 น. / 15:00 น. วันเสาร์ - วันอาทิตย์ 10:00 น. (ภาษาอังกฤษ) / 11:00 น. / 13:00 น. (ภาษาอังกฤษ) / 14:00 น. / 15:00 น. /  16:00 น.

2. บัตรชมนิทรรศการ 3 อาคาร ประกอบไปด้วย อาคาร 2 พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์, อาคาร 3 โลกใต้น้ำ และอาคาร 4 ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (ผู้ใหญ่ 30 บาท / เด็ก 20 บาท) สามารถเข้าชมได้ทั้งวัน ตั้งแต่ 09:00 - 16:30 น.

ช่วงเวลาแนะนำ : วันธรรมดาทั้งวัน หรือช่วงเช้าวันเสาร์ และอาทิตย์

ไฮไลท์ : ห้องฉายดาว ณ ท้องฟ้าจำลอง

กิจกรรม : เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ และภูมิศาสตร์ และได้ทดลองลงมือทำ เพื่อหาข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ด้วยตัวเอง อีกทั้งยังมีท้องฟ้าจำลองที่เป็นไฮไลท์ของที่นี่ ที่เราจะได้มีโอกาสชมความงดงามของดวงดาวนับหมื่นดวงอย่างใกล้ชิด


วิธีการเดินทาง


รถยนต์ส่วนตัว

ใช้เส้นทางสุขุมวิท หากมาจากทางแยกอโศก ให้ตรงไปเรื่อย ๆ จนถึงสถานี BTS เอกมัยแล้วกลับรถ ขับต่อมาอีกเล็กน้อย ท้องฟ้าจำลองจะอยู่ทางซ้ายมือ ถัดจากสถานีขนส่งเอกมัย

รถไฟฟ้า BTS 

ลงสถานีเอกมัย แล้วใช้ทางออก 2 เดินต่อไปทางขวาประมาณ 120 เมตร

รถเมล์ประจำทาง

สาย 2, 25, 26ก, 38, 40, 48, 149 และ 511


ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ (ฺBangkok Planetarium)



Viewing all articles
Browse latest Browse all 3101

Trending Articles


คลิปซูฉีอาบน้ำ เห็นหมด รีบดูก่อนโดนลบ


ยุงบินเหมือนกอดกัน 2 ตัว มันทำอะไรอยู่ครับ


ใครเคยสั่งครีมของ Ningchin shop บ้างคะ รีวิวครีมหน่อยคะ


แจกภาพพื้นหลัง iPhone สวยๆ (อัปเดต) หลายภาพหลายรูปแบบ


รหัสโอนเงิน tr to NATID คือ อะไรครับ


ใครรู้จักบริษัท the singular group บ้างครับ...


“โรคตุ่มน้ำพอง หรือ โรคเพมฟิกอยด์” อาการเป็นอย่างไร พร้อมวิธีป้องกันและดูแลรักษา


Notability อัปเดตใหม่เพิ่มฟีเจอร์เปลี่ยนลายมือให้เป็นตัวพิมพ์ภาษาไทยได้แล้ว


วิธีนับข้อมูลใน Pivot แบบไม่นับตัวที่ซ้ำกัน (Distinct Count)


เล่นแร่แปรสูตร : การแปลงวันที่ Text ให้เป็นวันที่ Date