Quantcast
Channel: theTripPacker
Viewing all articles
Browse latest Browse all 3101

สังขละบุรี I เวลาน้อย งบน้อย แต่สุขมาก (ฉบับกะทัดรัด 2 วัน 1 คืน งบ 1,500 บาท)

$
0
0
สังขละบุรี I เวลาน้อย งบน้อย แต่สุขมาก (ฉบับกะทัดรัด 2 วัน 1 คืน งบ 1,500 บาท)

สังขละบุรี I เวลาน้อย งบน้อย แต่สุขมาก (ฉบับกะทัดรัด 2 วัน 1 คืน งบ 1,500 บาท)

อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี จ.

Thitima Phirunsookasam

ตามรอย โครงการแหลมผักเบี้ยฯ ต้นแบบเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียตามแนวพระราชดำริ


แทบทุก ๆ จังหวัดของประเทศไทย ไม่มีจังหวัดไหนที่ไม่มีโครงการพระราชดำริที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงศึกษาวิจัยเพื่อช่วยเหลือราษฏรที่ลำบาก เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อย่างในจังหวัดเพชรบุรีนี้เอง ก็มีโครงการที่น่าสนใจมากมาย และหนึ่งในนั้นคือ "โครงการศึกษา และวิจัยแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ"  ที่ทรงให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) และ กรมชลประทานร่วมกันหาวิธีแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับขยะมูลฝอย น้ำเสีย และการฟื้นฟูสภาพป่าชายเลนในจังหวัดเพชรบุรี

ca0fd718-15bb-a0c6-f890-584a4b63a17c.jpg

โครงการศึกษาวิจัย และพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี มีพื้นที่ 1,135 ไร่ สามารถบำบัดน้ำเสียได้ 1 ใน 5 ของเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี ซึ่งมีประชากรประมาณ 40,000 คน โดยน้ำเสียจะถูกส่งมาตามท่อด้วยความยาวกว่า 18 กิโลเมตร ตามจังหวัดเพชรบุรี เพื่อเข้าสู่ระบบบำบัดที่ไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีชั้นสูง และเป็นยังมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

c8ecd3af-219b-012b-b164-584a4b867185.jpg

เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียตามแนวพระราชดำริที่ได้นำมาใช้ในแหลมผักเบี้ยมีทั้งหมด 4 ระบบ ได้แก่ 

1. ระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย เป็นระบบที่อาศัยการกักพักน้ำเสียไว้ในระยะเวลาที่เหมาะสมกับความสกปรกของน้ำ เติมออกซิเจนด้วยการสังเคราะห์แสงของแพลงก์ตอน และสาหร่าย อาศัยแรงลมช่วยในการเติมอากาศเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายสารอินทรีย์ด้วยจุลินทรีย์ และกักพักน้ำในแต่ละบ่อเป็นเวลา 7 วัน น้ำเสียแต่ละบ่อจะไหลล้นจากด้านบน และไหลลงสู่ด้านล่างของบ่อถัดไป

2. ระบบพืชและหญ้ากรองนาเสีย เป็นระบบที่ให้พืช หญ้าอาหารสัตว์ ช่วยดูดซับธาตุอาหารจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ในดิน โดยมีระยะเวลาในการขังน้ำเสีย 5 วัน สลับปล่อยแห้ง 2 วัน ที่ใช้ในการบำบัด แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ หญ้าอาหารสัตว์ ได้แก่ หญ้าสตาร์ หญ้าคาลลา และหญ้าโคสครอส พืชทั่วไป ได้แก่ ธูปฤาษี กกกลมและหญ้าแฝกพันธุ์อินโดนีเซีย เมื่อครบตามระยะเวลาก็จะตัดพืชออก แล้วก็นำไปให้กลุ่มแม่บ้านทำเครื่องสานเพื่อเพิ่มประโยชน์และสามารถสร้างรายได้ให้กับกลุ่มแม่บ้านได้ด้วย

3. ระบบพื้นที่ชุ่มน้ำเทียม เป็นระบบที่ใช้กลไกการบำบัดเช่นเดียวกับระบบพืช และหญ้ากรอง จะแตกต่างกันที่วิธีการ คือ จะเติมน้ำเสียลงสู่ระบบอย่างต่อเนื่องตลอดวัน โดยอัตราการไหลของน้าเสียเท่ากับปริมาณน้ำเสียใหม่ที่สามารถผลักดันไล่น้ำเสียเก่าออกจากระบบหมดในเวลา 1 วัน พืชที่ใช้ก็เป็นชนิดเดียวกันกับระบบก่อนหน้า

4. ระบบแปลงพืชป่าชายเลน ระบบนี้จะให้ธรรมชาติบำบัดด้วยตัวของมันเองตามระยะเวลาการขึ้นลงของน้ำทะเลในแต่ละวัน อาศัยระบบรากของพืชป่าชายเลนช่วยปล่อยก๊าซออกซิเจนเติมให้กับน้ำเสียและจุลินทรีย์ในดิน หรับสัดส่วนในการผสมระหว่างน้ำเสียและน้ำทะเลจะมีสัดส่วนมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับค่าความสกปรกของน้ำเสีย

79f7372f-70aa-6031-8a91-584a4cbc0590.jpg
c39f90d9-e1c1-6490-ef87-584a4cab62e1.jpg
f390251f-f4fc-a786-5ed0-584a4c26b06a.jpg
92318833-fa01-d2f0-a8b2-584a4c251326.jpg

อีกหนึ่งไฮไลท์สำคัญของการเที่ยวที่นี่ นอกจากจะได้รู้เกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสียแล้ว ที่นี่ยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติระบบนิเวศป่าชายเลน มีระยะทางประมาน 850 เมตร แต่ไม่ต้องกลัวว่าแดดจะร้อนเหงื่อจะท่วมนะครับ เพราะตลอดสองข้างทางเดินนั้นจะเต็มไปด้วยต้นโกงกาง และต้นแสม แถมด้วยผักเบี้ยทะเลของจริงที่ขึ้นอยู่เต็มบริเวณโดยรอบป่าชายเลนให้เราเดินชมกันเพลิน ๆ

e10b5e8c-36e8-fa2e-970a-584a4c722cbe.jpg
c3e371bc-bfaa-8448-b5d6-584a4c864580.jpg
264a9e02-31d5-46f9-b093-584a4cb5382c.jpg
ddf3e89e-3640-77e3-60dd-584a4cc5722a.jpg

เราเดินชมธรรมชาติกันเรื่อยๆ บนสะพานไม้ที่ทอดยาว และขึ้นไปดูหอภูมิทัศนา ที่ทำให้เราเห็นว่าเรือนยอดของต้นโกงกาง และต้นแสมได้เจริญเติบโตมากเพียงใด จุดนี้เองหากใครเหนื่อย และเมื่อยก็สามารถแวะพักถ่ายรูปได้ จะได้รูปของท้องฟ้าสีสดใสตัดกับสีเขียวของต้นโกงกาง ลมพัดเอื่อย ๆ  บรรยากาศแบบนี้สดชื่นจนทำให้เราลืมความเหนื่อยไปได้เลย และความอุดมสมบูรณ์ที่มีให้เราเห็นอีกอย่างคือ สัตว์น้อยใหญ่ที่อาศัยอยู่ในบริเวณป่าชายเลน เป็นที่พักพิงหลบภัย หรือเป็นแหล่งอาหารของพวกมัน สัตว์เหล่านี้ที่จริงก็สามารถพบได้ทั่วไปในทุก ๆ ป่าชายเลน แต่พิเศษคือที่นี่มีจำนวนมากกว่าที่อื่น ๆ และยังมีสัตว์หายากบางชนิด เช่น  ปลาตีนตัวใหญ่ ปูแสม ปูก้ามด้าม นกนานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นนกเด้าดิน นกเด้าลม นกยางเปีย และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยที่นี่ยังได้รับการขนานนามว่าเป็น 1 ใน 10 แหล่งดูนกที่ดีที่สุดของประเทศอีกด้วย

d23afd05-b5d0-e027-4574-584a4d7f7d45.jpg
a99bcbb2-77c5-d196-dba2-584a4d550b29.jpg
60e110c7-656b-1aff-391b-584a4de8eea5.jpg
2393c421-797a-8c1d-c51f-584a4df7b129.jpg
d3dc6e49-a479-0caa-fd5a-584a4da74daf.jpg
88583948-c6d8-a167-28b8-584a4d81ba08.jpg

หากใครเป็นคนช่างสังเกต หรือหูไว ก็อาจจะได้ยินเสียงเหมือนคนดีดนิ้วตลอดเวลา ไม่ใช่ใครที่ไหน เจ้าของเสียงนี้คือ "กุ้งดีดขัน"  มันจะดีดตัวเพื่อเคลื่อนตัวเองอยู่บริเวณโคลนนั่นเอง เดินมาซักพักเราก็จะมาถึงปากทางของป่าชายเลน ที่เป็นเวิ้งทะเลกว้าง และมีสะพานไม้ทอดยาว เป็นอีกมุมที่ใคร ๆ ก็ต่างมาถ่ายรูปสวย ๆ เก็บไว้เป็นที่ระลึก เราแนะนำว่าหากทริปหน้าของเพื่อน ๆ มีแพลนมาเที่ยวจังหวัดเพชรบุรีละก็ ลองแวะมาที่นี่ดูนะครับ เพราะเราจะได้ทั้งความรู้ ความเพลิดเพลิน และความสวยงามที่แสนประทับใจกลับไปอย่างแน่นอน

627b53ca-16a9-9d94-0071-584a4e149df2.jpg
69523b0f-5381-ca54-d8c4-584a4e594309.jpg

จุดเด่น

โครงการศึกษาวิจัย และพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นโครงการที่แก้ไขปัญหาน้ำเสีย และขยะชุมชนที่ประหยัด สะดวก ทำได้ง่าย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศได้อย่างกว้างขวาง ที่สำคัญคือไม่ต้องใช้เครื่องจักรแต่ใช้ธรรมชาติในการบำบัด และยังมีเส้นทางศึกษาที่เหมาะสำหรับมาพักผ่อนหย่อนใจ

จุดด้อย

เนื่องจากสถานที่แห่งนี้เป็นที่โล่งแจ้ง ในวันที่ฝนตกหรือแดดร้อนมาก ๆ อาจไม่มีที่กำบังฝนหรือหลบแดดได้ และยังไม่ได้เปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบมากนัก

ข้อสรุป

โครงการศึกษาวิจัย และพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยนี้ มีประโยช์ต่อชุมชนจังหวัดเพชรบุรีอย่างมาก เช่น การบำบัดแม่น้ำเพชรบุรีให้มีคุณภาพน้ำดีขึ้น ,ระบบนิเวศป่าชายเลนมีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้น ,น้ำเสีย และน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วสามารถนำมาใช้ปลูกพืชเกษตรได้ และพืชที่เก็บเกี่ยวจากแปลงพืชบำบัดน้ำเสียยังสามารถนำมาทำเป็นเครื่องจักสานผลิตเป็นสินค้าหัตถกรรม และทำเยื่อกระดาษได้อีกด้วย จะเห็นว่านอกจากสภาพพื้นที่ดีขึ้นแล้วยังสามารถเป็นอาชีพเสริมรายได้ให้กับกลุ่มแม่บ้านหรือคนว่างงานในชุมชนได้อีกด้วย

คะแนน 4/5


ข้อมูลทั่วไป


ที่อยู่ : บ้านพะเนิน ตำบลบ้านแหลม อำเภอ บ้านแหลม เพชรบุรี 76110

GPS : 13.049799 , 100.090521

เบอร์ติดต่อ : 032-441-265

เวลาทำการ : เปิดให้เข้าชมทุกวัน แต่จะมีวิทยากรให้ความรู้เฉพาะในวัน เสาร์-อาทิตย์

ช่วงเวลาแนะนำ : ควรไปเที่ยวในช่วงเดือน ตุลาคม-กุมภาพันธ์ เพราะธรรมชาติจะสวยงามต้นไม้เขียวขจี และอากาศไม่ร้อนจนเกินไป

ไฮไลต์ : เส้นทางศึกษาธรรมชาติที่เต็มไปด้วยต้นโกงกาง และต้นแสม ระยะทาง 850 เมตร ปลายสุดของทางเดินจะเป็นสะพานที่ทอดยาวไปในทะเล

กิจกรรม : ชมธรรมชาติ ,ดูสัตว์ต่างๆ เช่น ปลาตีนตัวเบ้อเริ่ม ปูแสม ปูก้ามด้าม นกนานาชนิด  ,พักผ่อนหย่อนใจ , ศึกษาเกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสียในโครงการพระราชดำริ


วิธีการเดินทาง


โครงการศึกษาวิจัย และพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ระหว่างเส้นทางเลียบชายทะเลจากอำเภอบ้านแหลม ไปยังหาดเจ้าสำราญ ระยะทางประมาณ 15 กม. ทางเข้าโครงการแหลมผักเบี้ยอยู่ข้างวัดสมุทรโคดม


โครงการศึกษาและวิจัยแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ



Viewing all articles
Browse latest Browse all 3101

Trending Articles


คลิปซูฉีอาบน้ำ เห็นหมด รีบดูก่อนโดนลบ


ยุงบินเหมือนกอดกัน 2 ตัว มันทำอะไรอยู่ครับ


ใครเคยสั่งครีมของ Ningchin shop บ้างคะ รีวิวครีมหน่อยคะ


แจกภาพพื้นหลัง iPhone สวยๆ (อัปเดต) หลายภาพหลายรูปแบบ


รหัสโอนเงิน tr to NATID คือ อะไรครับ


ใครรู้จักบริษัท the singular group บ้างครับ...


“โรคตุ่มน้ำพอง หรือ โรคเพมฟิกอยด์” อาการเป็นอย่างไร พร้อมวิธีป้องกันและดูแลรักษา


Notability อัปเดตใหม่เพิ่มฟีเจอร์เปลี่ยนลายมือให้เป็นตัวพิมพ์ภาษาไทยได้แล้ว


วิธีนับข้อมูลใน Pivot แบบไม่นับตัวที่ซ้ำกัน (Distinct Count)


เล่นแร่แปรสูตร : การแปลงวันที่ Text ให้เป็นวันที่ Date